วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Computer Graphic

คอมพิวเตอร์กราฟิก
1.ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ยังไม่มีภาษาพูด วิธีหนึ่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน คือการใช้รูปภาพ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่นหิน ความร้อน เลือดและกระดูกสัตว์มาช่วยในการวาดภาพ ตัวอย่างเช่น ภาพเขียนตามฝาผนังถ้ำ ในประเทศไทยก็มีภาพเขียนเช่นนี้ เช่นที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี งานกราฟิกจึงถือได้ว่าเกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
กราฟิก (graphic) มาจากภาษากรีกที่ว่า Graphikos หมายถึง การวาดเขียนและ เขียนภาพ Graphein หมายถึง การเขียน มีผู้ให้ความหมายของคำว่า กราฟิกไว้มากมาย ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี กราฟิก หมายถึงการสื่อความหมายด้วยการใช้ภาพหรือการใช้เส้น
บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก
งานกราฟิกสามารถสื่อความหมายระหว่างผู้ออกแบบกับผู้ชมได้โดยตรงเนื่องจากใช้ภาพเป็นหลักในการสื่อสาร ทำให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าผู้ออกแบบใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ งานกราฟิกชิ้นนั้นก็จะยิ่งมีความน่าสนใจ และมีคุณค่าทางด้านศิลปะอีกด้วย แต่ถ้าภาพที่ใช้สื่อความหมายไม่ชัดเจน ผู้รับก็ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
ลองทดสอบความเข้าใจจากภาพ ทั้งสองนี้ ถ้าเห็นภาพเพียงบางส่วนจะเดาออกหรือไม่ว่าเป็นภาพอะไร นำเมาส์ไปคลิกเลือกบนช่อง สี่เหลี่ยม แล้วลองเดาคำตอบจากภาพที่เห็น ว่าจะตอบได้ถูกต้อง ต้องคลิกเลือกทั้งหมดกี่ช่อง


ความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก
1. งานกราฟิกทำให้การสื่อสารเข้าใจได้ง่ายเนื่องจากใช้รูปภาพในการสื่อความหมายจึงทำให้เห็นรายละเอียด เนื้อหาที่ต้องการนำเสนอได้ชัดเจนกว่าการใช้ข้อความ หรือตัวอักษรอธิบายเพียงอย่างเดียว และงานกราฟิกยังทำให้การสื่อความหมายเป็นไปอย่างรวดเร็ว แม้จะสื่อสารกันคนละภาษา หรือมีความแตกต่างกัน ก็สามารถเข้าใจตรงกันได้
2. งานกราฟิกมีความน่าสนใจเนื่องจากมีการใช้ภาพ และสีในการนำเสนอ จึงทำให้งานดูสะดุดตา น่าประทับใจ
3. ส่งเสริมงานด้านศิลปะ งานกราฟิกที่ดึงดูดใจ ต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และ ความรู้ทางด้านศิลปะ เพื่อที่จะสื่อความหมายและอารมณ์ระหว่าง ผู้ออกแบบและผู้ชม
4. พัฒนาความก้าวหน้าทางธุรกิจ ส่งเสริมการขาย งานกราฟิก ทำให้ผลิตภัณฑ์ มีจุดเด่น และเข้าใจข้อมูลของสินค้าได้เป็นอย่างดี

งานกราฟิกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การประชาสัมพันธ์ โฆษณา ประกาศต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ แผ่นป้ายโฆษณาทั้งขนาดใหญ่และเล็ก
2. ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นฉลากสินค้า หน้าปกหนังสือ นิตยสาร
3. งานด้านโทรทัศน์และภาพยนตร์ เช่นการทำการการ์ตูน การใส่เทคนิคพิเศษให้กับภาพยนตร์
4. ด้านการการศึกษา เช่นทำสื่อการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมีความสนใจและเข้าใจในเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้น
เราสามารถพบเห็นงานกราฟิกได้มากมายในชีวิตประจำวันของเรา เนื่องจากงานกราฟิกมีประโยชน์
ดังที่กล่าวไปแล้ว และยิ่งในปัจจุบัน การสื่อสารข้อมูลไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เอกสาร หรือในหน้ากระดาษ สื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น เราสามารถติดต่อสื่อสารกันโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากมีความสะดวก และรวดเร็ว จึงทำให้เราพบเห็นงานกราฟิก ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิสก์ (e-book) ภาพถ่ายดิจิทัล เว็บไซต์ต่าง ๆ หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เราใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อ การพิมพ์งาน เล่นเกมส์ เก็บข้อมูลต่าง ๆ โดยผู้ใช้สั่งงานต่างๆ ผ่านภาพกราฟิก จึงทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานง่าย และแพร่หลายอยู่จนถึงปัจจุบันนี้


ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้าง จัดการ ทำงานกราฟิก เช่นการนำข้อมูล อาจเป็น ภาพ ข้อความ หรือ เสียง แล้วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตกแต่ง ตัดต่อ แก้ไข ประมวลผล เพื่อให้ได้งานกราฟิก ตามต้องการ

ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ
2. ซอต์ฟแวร์ ได้แก่ โปรแกรมที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานกราฟิกตามที่ผู้ใช้ต้องการซึ่งมีทั้ง
เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านกราฟิกที่มีใช้เป็นจำนวนมากเช่น อะโดบี โฟโต้ชอฟ(AdobePhotoshop) ไฟร์เวิร์ค(firework) อิลัสเตรเตอร์(Illastrator) โปรแกรมที่เราเขียนขึ้นเองด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาเบซิค เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำหรับงานกราฟิก
เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งประกอบด้วย
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU )
แผงวงจรหลัก(main board)
หน่วยความจำหลัก(main memory) ได้แก่ แรม(Random Access Memory :RAM) และหน่วยความจำสำรอง (secondary storage) ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์(hard disk) และแผ่นบันทึก (floppy disk)
การ์ดแสดงผล (display card)
จอภาพ ทำหน้าที่ แสดงผลลัพธ์(output)จากการประมวลผล แสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นในรูปของ ตัวอักษร ภาพ กราฟิก
จอภาพที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
จอภาพ CRT (Cathode-Ray tube) จอภาพจะมีลักษณะใหญ่ ก้นยาวคล้ายโทรทัศน์
จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display จอภาพมีลักษณะแบน บาง
แผงแป้นอักขระ (keyboard)
เมาส์(mouse)
อุปกรณ์ต่อพ่วง
สแกนเนอร์ (Scanner) ให้อ่าน ข้อมูลหรือภาพถ่ายบนเอกสารเข้าไปไปเครื่อง ซึ่งข้อมูลจะถูก
แปลงเป็นจุดเล็ก ๆ ในรูปแบบไฟล์ดิจิตอลไปเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์กล้องดิจิตอล (Digital Camera) กล้องดิจิตอลสามารถถ่ายรูปภาพให้อยู่ในไฟล์ดิจิตอล ซึ่งนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง และภาพที่ได้ก็มีความละเอียดสูง ถึงล้านพิกเซลขึ้นไป
ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลทางหน้าจอภาพโดยใช้ปากกาแตะไปบนจอภาพในตำแหน่งที่ต้องการ
กระดานกราฟิก (graphic tablet) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการวาดภาพ โดยผู้ใช้สามารถวาดภาพบนคอมพิวเตอร์ได้เหมือนกับวาดบนกระดาษ
เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ในการแสดงผล ทั้งตัวอักษร และรูปภาพ ลงบนกระดาษ มีหลายประเภทด้วยกันคือ
ดอตเมทริกซ์พรินเตอร์ (dot matrix printer) ใช้หัวเข็มกระแทกลงบนแผ่นหมึกคาร์บอน ทำให้เกิดรอยหมึกเป็นข้อความ และภาพ เป็นพรินเตอร์ที่มีความละเอียดต่ำ ราคาไม่แพง แต่พิมพ์ช้า และมีเสียงดัง
อิงก์เจ็ตพรินเตอร์ (inkjet printer) ใช้หลักการฉีดพ่นหมึกทำให้เกิดจุดสีเล็กๆ เรียงต่อกันจนเป็นภาพ นิยมใช้มากในปัจจุบันเนื่องจากมีราคาถูก และคุณภาพของงานพิมพ์ดี สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ มีความเร็วในการพิมพ์ปานกลาง
เลเซอร์พรินเตอร์ (laser printer) ใช้แสงเลเซอร์เพื่อจัดเรียงผงหมึกให้เกิดเป็นภาพและใช้ความร้อนเพื่อให้ผงหมึกติดกับกระดาษ ทำให้มีความละเอียดสูง พิพม์งานรวดเร็ว คุณภาพงานดี แต่ราคาแพง
พล็อตเตอร์ (plotter) จะแสดงภาพโดยใช้ปากกาเป็นตัววาดภาพ นิยมใช้กับการด้านวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม เป็นการเขียนแบบโครงสร้างอาคาร
ภาพบนคอมพิวเตอร์เกิดได้อย่างไร
รูปภาพที่แสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลายๆจุดมาประกอบกันขึ้นเป็นภาพ โดยแต่ละจุดจะแสดงค่าสีแตกต่างกัน หรือเหมือนกันขึ้นอยู่กับชนิดของรูปภาพ จุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เรียกว่า พิกเซล ภาพที่สามารถมองเห็นได้ว่าเป็นภาพอะไร เกิดจากพิกเซลขนาดเล็กจำนวนมาก เรียงตัวกันจนอัดแน่นอยู่ในพื้นที่ของภาพจนแทบจะมองไม่เห็นนอกจากจะขยายภาพขึ้นมามาก ๆ จึงจะสังเกตเห็นได้
ประเภทของไฟล์กราฟิก
ภาพที่แสดงผลในคอมพิวเตอร์นั้น มี 2 ลักษณะ คือ
1. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เมื่อมีการย่อ - ขยาย หรือแก้ไขภาพ การแสดงผลของภาพ จะยังคงความละเอียดและคมชัดเหมือนเดิม ตัวอย่างไฟล์ภาพแบบเวกเตอร์ เช่น .AI .PLT .WMF
2. ภาพราสเตอร์ (Raster) หรือเรียกว่าภาพบิทแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการแสดงผลจากจุดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล โดยนำแต่ละจุดมาเรียงต่อกันเป็นภาพ ทำให้ภาพมีความคมชัดสมจริง แต่เมื่อมีการแก้ไข หรือย่อ ขยายรูป จะทำให้ความคมชัด ของภาพลดลง ตัวอย่างไฟล์ภาพแบบราสเตอร์ เช่น .gif .jpg .tif
การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์กราฟิก
การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์กราฟิกสามารถจำแนกตามลักษณะของงาน ดังนี้
การออกแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิกในงานออกแบบ หรือที่เรียกว่า CAD (Computer Aided Design) ผู้ออกแบบสามารถนำสัญลักษณ์ที่โปรแกรมมีไว้มาประกอบกันเป็นวงจร เพื่อแก้ไข เพิ่มเติม ได้สะดวก ทำให้วิศวกรสามารถมองเห็นงานที่ออกแบบ ในรูปแบบจำลอง ก่อนที่สร้างจริง ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
การแสดงผลข้อมูล การใช้โปรแกรม เพื่อสร้าง ภาพเช่นแผนภูมิ สถิติ แผนที่ ทำให้การสื่อสารดีกว่าการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือข้อความ โปรแกรมสร้างกราฟยังสามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ ทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจเป็นไปได้รวดเร็ว และง่ายกว่าเดิม ภาพถ่ายทางการแพทย์ แสดงให้เห็นโครงสร้างภายในร่างกายของผู้ป่วย ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การจำลองการทำงาน การนำคอมพิวเตอร์ มาจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญก่อนปฏิบัติกับอุปกรณ์จริง เช่นการหัดขับเครื่องบิน ของนักบิน หรือหัดขับรถด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เกมคอมพิวเตอร์ก็นำงานกราฟิกมาใช้เพื่อให้เกมดูเร้าใจ สมจริง โดยเฉพาะเกมที่มีการต่อสู้ผจญภัย การจำลองการทำงานในวงการภาพยนตร์ ยังนำคอมพิวเตอร์มาใช้สร้างฉาก ต่าง ๆ ให้ดูสมจริง หรือสร้างฉากที่ไม่ได้มีอยู่จริง ให้มีขึ้น หรือเพิ่มเทคนิคพิเศษ ต่าง ๆ
การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ การจะทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้อย่างง่ายดาย ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ ต่าง ๆ ต้องใช้ภาพกราฟิกในการสั่งงาน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่ง และพิพม์คำสั่งต่าง ๆ รูปแบบติดต่อผู้ใช้นี้เรียกว่าจียูไอ เป็นการตอบสนองระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ 

https://www.facebook.com/permalink.php?id=213906798656347&story_fbid=375238619189830


2. บทบาทและความสำคัญของกราฟิก
งานกราฟิกสามารถสื่อความหมายระหว่างผู้ออกแบบกับผู้ชมได้โดยตรงเนื่องจากใช้ ภาพเป็นหลักในการสื่อสาร ทำให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าผู้ออกแบบใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ งานกราฟิกชิ้นนั้นก็จะยิ่งมีความน่าสนใจ และมีคุณค่าทางด้านศิลปะอีกด้วย แต่ถ้าภาพที่ใช้สื่อความหมายไม่ชัดเจน ผู้รับก็ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
บทบาท และ ความสำคัญของกราฟฟิก
 1. การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของ การประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไมดูดความสนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมายกันระหว่าผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้  
2. งานโทรทัศน์ กราฟิกจะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นหัวเรื่อง (title)สไลด์ ฯลฯ งานจัดฉากละคร  เช่น การจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบตัวหนังสือ            
3. นิยมใช้ในงานหนังสือพิมพ์ เพราะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
4. งานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่นออกแบบบ้าน         
6. งานพิมพ์หรือทำสำเนา ทำซิลค์สกรีน การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง
http://phantomgraphicdesign.blogspot.com/2012/11/blog-post_1101.html




3.ความหมายของกราฟิก
กราฟฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ
 1. Graphikos หมายถึง   การวาดเขียน
2. Graphein หมายถึง การเขียน
   ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า กราฟิกไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้
 กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิกประกอบด้วย
1. ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
2. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
3. คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
 คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การ สร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมาย ได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
 ภาพกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
 -กราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์
 -กราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds Max  โปรแกรม Maya เป็นต้น

http://intreelek2.blogspot.com/2007/09/blog-post_1543.html

4.ประเภทของภาพกราฟิก
การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ มีวิธีการสร้าง 2 แบบ คือ แบบบิตแมพ (Bit Mapped)และแบบเวกเตอร์ (Vector) หรือสโตรก (Stroked) แต่ละแบบวิธีการรสร้างภาพดังต่อไปนี้
 กราฟิกแบบบิตแมป
      กราฟิกแบบบิตแมปความหมายที่ค่อนข้างจะตรงไปตรงมาคือ มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนตาราง แต่ละบิตก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ซึ่งก็คือสวิตซ์ปิดเปิดในหน่วยความจำ "1" หมายถึงเปิด และ "0" หมายถึงปิด)และสวิตซ์ปิดเปิดนี้ก็ยังหมายถึงสีดำและสีขาวอีกด้วย ดังนั้นถ้าเราเอาบิตที่แตกต่างกันในแต่ละตารางมารวมกันเข้าเราจะสามารถสร้างภาพจากจุดดำและขาวเหล่านี้ได้กราฟิกแบบบิตแมปทุกชนิดมีลักษณะที่เหมือนกันอยู่บางประการ ถ้าทำความเข้าใจส่วนต่างๆเหล่านี้ เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
 กราฟิกแบบเวกเตอร์
ภาพกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบรถยนต์ การออกแบบอาคาร การสร้างการ์ตูน เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบ Vector คือ โปรแกรม Illustrator, CorrelDraw, 3DsMax แต่อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลภาพ เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์ จะเป็นการแสดงผลภาพแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบVector ที่ขยายใหญ่ขึ้น ความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง
http://groupfeeling.blogspot.com/2012/10/4.html

5.หลักการทำงานและการแสดงผลของกราฟฟิก

หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟฟิก
หลักการทำงาน
          หลักการทำงานของภาพกราฟฟิก คือ ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster กับ Vector
          หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้ว่าพิกเซล (Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้นการกำหนดพิกเซลจึงควรกำหนดจำนวนพิกเซลให้เหมาะกับงานที่สร้าง

          หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน และการออกแบบต่างๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน เป็นต้น
http://navigatorgraphic2d.blogspot.com/2011/11/rgb-3-pixel-picture-element-2-raster.html


6.ระบบสี ( Color Model )
             ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี 3 สีแต่อย่างไรก็ตาม การใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ   ดังนั้นจึงควรทราบระบบสี
ีของคอมพิวเตอร์ก่อน ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Addivtive
สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไป มี 4 ระบบ คือ
             1. RGB
             2. CMYK
             3. HSB
             4. LAB


1. RGB
            เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ แดง ( Red), เขียว ( Green) และน้ำเงิน ( Blue) เมื่อนำมาผสมผสานกันทำให้เกิดสีต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี     
    ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ     Additive หรือการผสมสีแบบบวก
2.  CMYK 
           เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วย สีหลัก 4 สี คือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Black)
     เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำ แต่จะไม่ดำสนิท เนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ หมึกสีหนึ่งจะดูด
     กลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลัก 
     ของระบบ RGB การเกิดสีในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB ดังภาพ
   
3.   HSB
             เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ Hue คือ สีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักจะเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว 
     สีเหลือง สีแดง เป็นต้น Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
     Brightness คือ ระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด

4.  LAB 
           เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 
                   "L" หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะเป็นสีขาว 
                   "A" เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง 

                   "B" เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง


7.ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก
ไฟล์กราฟิกมีรูปแบบอยู่ 3 ไฟล์ คือ 

1.ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File) เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐาน จะใช้เมื่อต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูง ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว 
จุดเด่น มีขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation) 
จุดด้อย  แสดงสีได้เพียง 256 สี ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่ GIF87 เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ ,GIF89A ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอในลักษณะภาพเคลื่อนไหว 

2.ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) เป็นไฟล์ที่นิยมใช้บน Internet ใช้กรณี ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก จะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกนและต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
จุดเด่น สนับสนุนสีได้ ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ มีระบบแสดงผลแบบหยาบ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้
จุดด้อย  ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์ 

3.ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)
จุดเด่น สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ มีระบบแสดงผลแบบหยาบ ขยายไปสู่ละเอียด สามารถทำพื้นโปร่งใสได้ 
จุดด้อย หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย


ไฟล์กราฟิก มี 2 ชนิด คือ 
1.กราฟิกแบบ Bitmap เป็นภาพแบบ Resolution Dependent ประกอบ ขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพที่มี Resolution หรือความละเอียดของภาพต่างกันไป หากขยายภาพ Bitmap จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์
              ภาพแบบ Bitmap เหมาะสำหรับงานกราฟิกที่ให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Channel พิเศษ เรียกว่า Alpha Channel ซึ่งเป็น 32 bit  คือสีสมจริง
ไฟล์ภาพแบบ Bitmap ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .BMP, .PCX. , .TIF, .GIF, .JPG, .MSP, .PCD  สำหรับโปรแกรมที่ใช้สร้างกราฟิกแบบนี้คือ Paintbrush, PhotoShop, Photostyler 

2.กราฟิกแบบ Vectorเป็นภาพประเภท Resolution-Independent มี ลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วน เป็นการรวมเอา Object ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic 
        ลักษณะเด่นคือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap 
ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น โดยมีโปรแกรม CorelDraw เป็นโปรแกรมสร้าง


ความแตกต่างระหว่างกราฟิกแบบ Bitmap และ Vector
Bitmap

1. ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ มากมาย
2. ภาพมีจำนวนพิกเซลคงที่จึงต้องการค่าความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสีทีละ pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่
3. เหมาะสำหรับงานกราฟิก ในแบบต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด
Vector

1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ โดยรวมเอา Objectต่างชนิดมาผสมกัน
2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง
3. เหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration

4. คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาในการแสดงภาพมากกว่า เนื่องจากต้องทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า
http://por2228.exteen.com/20111026/entry-8

8.คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้งาน
1. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการออกแบบ 

คอมพิวเตอร์กราฟิกได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบมาเป็นเวลานาน เราคงจะเคยได้ยินคำว่า CAD (Computer - Aided Design) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรม โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบหรือวิศวกรออกแบบงานต่างๆ ได้สะดวกขึ้น กล่าวคือ ผู้ออกแบบสามารถเขียนเป็นแบบลายเส้นแล้วลงสี แสงเงา เพื่อให้ดูคล้ายกับของจริงได้ นอกจากนี้แล้วเมื่อผู้ออกแบบกำหนดขนาดของวัตถุลงในระบบ CAD แล้ว ผู้ออกแบบยังสามารถย่อหรือขยายภาพนั้น หรือต้องการหมุนภาพไปในมุมต่างๆ ได้ด้วย การแก้ไขแบบก็ทำได้ง่ายและสะดวกกว่าการออกแบบบนกระดาษ 

ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการออกแบบวงจรต่างๆ ผู้ออกแบบสามารถวาดวงจรบนจอภาพโดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้แล้วมาประกอบกันเป็นวงจรที่ต้องการ ผู้ออกแบบสามารถแก้ไข ตัดต่อ เพิ่มเติมวงจรได้โดยสะดวก นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสำหรับออกแบบ PCB (Printed Circuit Board) ซึ่งมีความสามารถจัดการให้แผ่นปรินต์มีขนาดที่จะวางอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เหมาะสมที่สุด 

การออกแบบพาหนะต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน หรือเครื่องจักรต่างๆ ในปัจจุบันก็ใช้ระบบ CAD นักออกแบบสามารถจะออกแบบส่วนย่อยๆ แต่ละส่วนก่อน แล้วนำมาประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ขึ้นจนเป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้ในบางระบบยังสามารถที่จะทดสอบแบบจำลองที่ออกแบบไว้ได้ด้วย เช่น อาจจะออกแบบรถยนต์แล้วนำโครงสร้างของรถที่ออกแบบนั้นมาจำลองการวิ่ง โดยให้วิ่งที่ความเร็วต่างๆ กันแล้วตรวจดูผลที่ได้ ซึ่งการทดลองแบบนี้สามารถทำได้ในระบบคอมพิวเตอร์และจะประหยัดกว่าการสร้างรถจริงๆ แล้วนำออกมาศึกษาทดสอบการวิ่ง 

การออกแบบโครงสร้าง เช่น ตึก บ้าน สะพาน หรือโครงสร้างใดๆ ทางวิศวกรรมโยธาและสถาปัตยกรรม ก็สามารถทำได้โดยใช้ CAD ช่วยในการออกแบบ หลังจากสถาปนิกออกแบบโครงสร้างในแบบ 2 มิติเสร็จแล้ว ระบบ CAD สามารถจัดการให้เป็นภาพ 3 มิติ และยังสามารถแสดงภาพที่มุมมองต่างๆ กันได้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ นอกจากนี้ในบางระบบสามารถแสดงภาพให้ปรากฏต่อผู้ออกแบบราวกับว่าผู้ออกแบบสามารถเดินเข้าไปภายในอาคารที่ออกแบบได้ด้วย 

2. กราฟและแผนภาพ 

คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการแสดงภาพกราฟและแผนภาพของข้อมูลได้เป็นอย่างดี โปรแกรมทางกราฟิกทั่วไปในท้องตลาดจะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟและแผนภาพ โปรแกรมเหล่านี้ยังสามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟวงกลม นอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพกราฟได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ทำให้ภาพกราฟที่ได้ดูดีและน่าสนใจ กราฟและแผนภาพทางธุรกิจ เช่น กราฟหรือแผนภาพแสดงการเงิน สถิติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการกิจการมาก เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม ในงานวิจัยต่างๆ เช่น การศึกษาทางฟิสิกส์ กราฟและแผนภาพมีส่วนช่วยให้นักวิจัยทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายขึ้นเมื่อข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์มีจำนวนมาก 

ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographical Information System) ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงข้อมูลในทำนองเดียวกับกราฟและแผนภาพ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกเก็บลงในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วให้ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกจัดการแสดงข้อมูลเหล่านั้นออกมาทางจอภาพในรูปของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ 

3. ภาพศิลป์โดยคอมพิวเตอร์กราฟิก 

การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใครๆ ก็สามารถวาดได้แล้วโดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทน ภาพที่วาดในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกนี้เราสามารถกำหนดสี แสงเงา รูปแบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์หลายชิ้นก็เป็นงานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือ เราสามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการได้ง่าย นอกจากนี้เรายังสามารถนำภาพต่างๆ เก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) แล้วนำภาพเหล่านั้นมาแก้ไข 

4. ภาพเคลื่อนไหวโดยใช้คอมพิวเตอร์ 

ภาพยนตร์การ์ตูนและภาพยนต์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์หรือภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคพิเศษต่างๆ ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว (Computer Animation) มากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายกว่าวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ภาพที่ได้ยังดูสมจริงมากขึ้น เช่น ภาพยานอวกาศที่ปรากฏในภาพยนตร์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์ เป็นต้น การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยให้ภาพที่อยู่ในจินตนาการของมนุษย์สามารถนำออกมาทำให้ปรากฏเป็นจริงได้ ภาพเคลื่อนไหวมีประโยชน์มากทั้งในระบบการศึกษา การอบรม การวิจัย และการจำลองการทำงาน เช่น จำลองการขับรถ การขับเครื่องบิน เป็นต้น เกมส์คอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกมส์ก็ใช้หลักการทำภาพเคลื่อนไหนในคอมพิวเตอร์กราฟิกเช่นกัน 

5. อิเมจโปรเซสซิงก์ 


คำว่าอิเมจโปรเซสซิงก์ (Image Processing) หมายถึง การแสดงภาพที่เกิดจากการถ่ายรูปหรือจากการสแกนภาพให้ปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์ วิธีการทางอิเมจโปรเซสซิงก์จะต่างกับวิธีการของคอมพิวเตอร์กราฟิก กล่าวคือ ในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ตัวคอมพิวเตอร์เองจะเป็นตัวที่สร้างภาพ แต่เทคนิกทางอิเมจโปรเซสซิงก์นั้นใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดรูปแบบของสีและแสงเงาที่มีอยู่แล้วในภาพให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอล แล้วอาจจะมีวิธีการทำให้ภาพที่รับเข้ามานั้นมีความชัดเจนมากขึ้นก่อน จากนั้นก็จัดการกับข้อมูลดิจิตอลนี้ให้เป็นภาพส่งออกไปที่จอภาพของคอมพิวเตอร์อีกที วิธีการนี้มีประโยชน์ในการแสดงภาพของวัตถุที่เราไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม ภาพจากทีวีสแกนของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เป็นต้น 




ชื่อสมาชิกในกลุ่ม
1.กรณิศ  บุรานนท์  ม.4/8  เลขที่ 22
2.ชวนากร ธรามานิตย์  ม.4/8  ลขที่ 23
3.ณัฐคม สหเมธาพัฒน์ ม.4/8 เลขที่ 24